วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โปรแกรมการจักการสารสนเทศส่วนบุคคล (personal information manager)

โปรแกรมการจักการสารสนเทศส่วนบุคคล 
(personal information manager)
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
nจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคสารสนเทศส่งผลให้กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ  เช่น
- ผู้บริหาร  -  นักวิชาชีพ
- นักธุรกิจ  -  นักวิชาการ
-
nในแต่ละวันบุคคลกลุ่มนี้ยังมีภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ  เช่น
  -  การนัดหมาย  -  การจดบันทึกช่วยจำ
  -  การประชุม  -  การติดตามงาน

nทุกองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน  จำเป็นต้องมีการวางแผน ด้านต่าง ๆ เช่น
          -  การวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับองค์การ  (corporate  information  plan)
          -  การวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับตนเอง  (personal  information  plan)
-
n ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการประกอบกิจการงานและการดำรงชีวิต  จึงเกิดแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า  “การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล”  (Personal  Information  Management, PIM)
ความหมายของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
nสารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ  ซึ่งอาจอยู่ในหลายรูปแบบ  เช่น
  -  ตัวอักษร    -  ภาพนิ่ง 

  -  ภาพเคลื่อนไหว    -  เสียง    และอาจมีแหล่งที่มาแตกต่างกันตามชนิดของสื่อ  เช่น

  -  สื่อสิ่งพิมพ์  -  โทรสาร

  -  โทรศัพท์  -   ไปรษณีย์เสียง

  -  สื่อวิทยุกระจายเสียง  -  สื่อวิทยุโทรทัศน์

  -  สื่อคอมพิวเตอร์
nการจัดการ  หมายถึง  การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะหลายด้าน 
  ซึ่งอาจอยู่ในหลายรูปแบบ  เช่น 
  -  การจัดเก็บ  -  การดูแลรักษา

  -  การสืบค้น  -  การแสดงผล

  -  การกำจัดสารสนเทศที่ไม่ต้องการ
n ส่วนบุคคล  หมายถึง  การที่บุคคลมีความต้องการหรือความจำเป็นในการใช้สารสนเทศหนึ่ง ๆ ในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น
n บัญชีรายชื่อและที่อยู่ของลูกค้าของบริษัทแห่งหนึ่งเป็นสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อพนักงานขายของบริษัทนั้น แต่ไม่เป็นที่ต้องการของพนักงานในหน่วยผลิตของบริษัทเดียวกัน
ยุคของการใช้กระดาษเป็นหลัก 
nส่วนใหญ่อาศัยกระดาษเป็นหลักและมักมีตู้เก็บเอกสารเป็นส่วนประกอบ  ซึ่งระบบนี้ก็ยังเป็นระบบที่ใช้อยู่จนอยู่ถึงปัจจุบันในหลายสถานการณ์  ได้แก่  
    -  สมุดโน๊ต 
  -  สมุดจดที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์
nระบบที่ใช้กระดาษนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน 
nส่วนจุดด้อยมีหลายประการที่สำคัญคือ 
nการค้นหาข้อมูลค่อนข้างยาก หากไม่มีระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลที่ดี 
nปัญหาเชิงเทคนิคบางประการ  เช่น
  -  การเชื่อมโยง  (link)    -  การแปลง  (transfer) 
  -  การขนถ่าย  (transport)

ยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก


n  การเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน  สามารถกระทำได้โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
n การแปลงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูปแบบหนึ่ง  สามารถกระทำได้  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ มักมีฟังก์ชัน  (function)  เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมนั้น ๆ อยู่แล้ว
nการขนถ่ายข้อมูล  การขนถ่ายข้อมูลจำนวนมากจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง  สามารถกระทำได้  โดยใช้ดิสเกตต์และซีดีรอมเป็นสื่อบันทึกข้อมูล
n  แม้ระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปคอมพิวเตอร์จะมีจุดดีหลายประการ  แต่ก็มีจุดด้อยเช่นกัน  คือ  
n  ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่สูงกว่าระบบที่ใช้กระดาษ
n สำหรับบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์  จะต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากระบบให้มากที่สุดและต้องใช้เวลานานที่จะเรียนรู้ระบบนี้
n
n  ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลนั้น  ไม่ได้หมายความว่าจะทิ้งกระดาษได้ทั้งหมด  จะต้องหาวิธีการเปลี่ยนรูปกระดาษเป็นรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้  (computer-readable  form)  เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ในการอ้างอิง 
 nระบบที่พัฒนาขึ้นมามีความแตกต่างค่อนข้างมาก  รวมถึงฟังก์ชันการทำงานหลักเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้  ได้แก่  
n ฟังก์ชันนัดหมาย 
n ฟังก์ชันติดตามงาน
n ฟังก์ชันติดต่อสื่อสาร
nการพัฒนาระบบในช่วงปลายทศวรรษ  1990  ได้เริ่มคำนึงถึงการเชื่อมโยงสารสนเทศส่วนบุคคลของกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกันเข้าด้วยกัน 
nแนวคิดการเชื่อมโยงสารสนเทศส่วนบุคคลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่า  การจัดการสารสนเทศของกลุ่ม  (Group  Information  Management, GIM)  โดยมีความพยายามที่จะพัฒนา  ระบบจัดการสารสนเทศของกลุ่ม  (Group  Information  Manager, GIM)   
  GIM  เป็นตัวย่อในภาษาอังกฤษที่ใช้ร่วมกันสำหรับการจัดการสารสนเทศของกลุ่มและระบบจัดการสารสนเทศของกลุ่ม

องค์ประกอบของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล

nระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปคอมพิวเตอร์จะมีความแตกต่างค่อนข้างมากทั้งด้านรูปลักษณ์  ระดับความสามารถในการทำงาน  และราคา 
n เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างของระบบที่ใช้หลักการจัดการฐานข้อมูลแล้ว  พบว่ามีองค์ประกอบที่เหมือนกัน  คือ
n ส่วนรับเข้า 
n ส่วนประมวลผล
n ส่วนแสดงผล
n ส่วนรับเข้า  (input  unit)    แบ่งออกเป็นสองส่วนย่อย  คือ
n  ความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้ เช่น ความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นต้น
n  ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ  อาจมีความหลากหลายทั้งด้านเนื้อหาสาระและรูปแบบ
n ส่วนประมวลผล  (processing  unit)  หมายถึง
n  กลไกที่ทำหน้าที่ในการจัดหมวดหมู่
n หาสถานที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถนำออกมาใช้ได้
n รวมทั้งการจัดวิธีการเข้าถึงข้อมูลด้วย
nส่วนแสดงผล  (output  unit) 
n เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากส่วนหนึ่ง  เพราะผู้ใช้จะพึงพอใจระบบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ
nการแสดงผลในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลนั้น มักขึ้นอยู่กับความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ระบบเป็นหลัก

ประเภทของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
n การจำแนกตามรูปลักษณ์  ได้แก่
nประเภทโปรแกรมสำเร็จ 
n ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีทั้งในลักษณะใช้งานอิสระ  (stand  alone  version)  และผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์การ  (network  version) 
n ฟังก์ชันการทำงานหลัก  ได้แก่
n ฟังก์ชันนัดหมาย
n ฟังก์ชันติดตามงาน
nฟังก์ชันการติดต่อสื่อสาร

nโปรแกรมสำเร็จที่ใช้ในงานสำนักงานทั่วไป  เช่น
nโปรแกรมไมโครซอฟท์เอาท์ลุก  (Microsoft  Outlook) เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ  (Microsoft  Office)
nโปรแกรมโลตัสออกาไนเซอร์  (Lotus  Organizer) เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมโลตัสสมาร์ทสวีท  (Lotus  SmartSuite)
nประเภทอุปกรณ์เฉพาะ
n เป็นการรวมฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันไว้ในรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ 
nขนาดเล็กกะทัดรัต 
nน้ำหนักเบามาก 
nพกพาได้สะดวก 
nใช้กระแสไฟฟ้าตรงจากแบตเตอรี่เป็นหลัก 
nส่วนมากจะมีความสามารถด้านการสื่อสาร  ใช้งานง่าย  และราคาไม่แพง  เรียกอุปกรณ์เฉพาะว่า  เครื่องพีดีเอ  (Personal  Digital  Assistant,  PDA)
n การจำแนกตามฟังก์ชันการทำงาน
n ประเภทพื้นฐาน 
nเป็นระบบที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด 
n ประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลักสามฟังก์ชันที่มีระดับความสามารถในการทำงานที่ไม่ซับซ้อน  ได้แก่
nฟังก์ชันนัดหมายส่วนบุคคล
nฟังก์ชันติดตามส่วนบุคคล
nฟังก์ชันติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน  ใช้จัดเก็บข้อมูล  ชื่อ-สกุล   ที่อยู่  และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อ
เกณฑ์การเลือกระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
nเป้าหมาย
n พิจารณาเป้าหมายส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของผู้ที่จะใช้ระบบ
n พิจารณาเป้าหมายขององค์การ รวมทั้งลักษณะ ประเภท และนโยบายหลักขององการด้วย
nความต้องการด้านสารสนเทศ  พิจารณาเรื่องวัตถุประสงค์ขอบเขตในการนำระบบมาใช้ เช่น
n ต้องการระบบนัดหมายส่วนบุคคลหรือระบบนัดหมายกลุ่ม
n ต้องการระบบติดตามงานหรือไม่
nราคา
nพิจารณาเรื่องวัตถุประสงค์ที่สามารถจำกัดประเภทของระบบที่จะเลือกเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้
n ทั้งนี้ เนื่องจากระบบนี้มีความหลากหลายมากในด้านราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสามารถในการทำงานของระบบเป็นหลัก
nความยากง่ายในการใช้งาน
n พิจารณาเรื่องการเข้าถึงระบบ  การป้อนสารสนเทศเข้าสู่ระบบ  รวมถึงฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ ของแต่ละระบบ
n มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถประเมินได้ว่าระบบนั้นๆ จะเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีของผู้ที่จะใช้ระบบหรือไม่
nพิจารณาเรื่องวัตถุประสงค์ในการใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการเรียนรู้ระบบ
nจะคุ้มค่าหรือไม่กับเวลาที่ต้องเสียไป
ระบบนัดหมายส่วนบุคคล
nระบบนัดหมายส่วนบุคคลหรือปฏิทินการทำงานส่วนบุคคลเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไป
nระบบนี้มีลักษณะคล้ายสมุดนัดหมายบุคคลที่เป็นกระดาษ
nเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารเวลาของแต่ละบุคคล 
nช่วยให้มีการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่มีเวลาค่อนข้างจำกัด  เช่น
n ผู้บริหาร  
n นักธุรกิจ
nการใช้งานระบบ 
nเป็นระบบที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้เพียงเลือกวันและเวลาที่ต้องการจะบันทึกข้อมูลการนัดหมายและพิมพ์ข้อมูลในช่องที่กำหนดให้ 
nระบบจะมีวิธีการบันทึกข้อมูลแบบลัด  (shortcut)  เพื่อให้บันทึกข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 
nส่วนการค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เป็นรายวัน  รายสัปดาห์  หรือรายปี  และสามารถใช้ฟังก์ชันทำซ้ำ  (copy)  ช่วยในการบันทึกข้อมูลลงในวันเวลาที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ใหม่ 
nหากมีกิจกรรมมากกว่าหนึ่งกิจกรรมซ้ำซ้อนในเวลาเดียวกัน  ระบบจะเตือนให้ผู้ใช้ทราบเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป 
nมีสัญญาณเตือนการนัดหมาย  (appointment  alarm)  เมื่อใกล้ถึงเวลานัดหมาย  ซึ่งสัญญาณนี้อาจเป็นเสียงหรือข้อความก็ได้และมีการเตือนล่วงหน้าด้วย
ปัจจัยในการใช้งานของระบบนัดหมายกลุ่ม
n สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องใช้ระบบนัดหมายส่วนบุคคลในการบริหารเวลาของตนเองและควรเป็นระบบเดียวกัน
n มาตรฐานที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Interchange, PDI) ระหว่างโปรแกรมนัดหมายคือ   มาตรฐานวี-กาเล็นดาร์ (vCalendar หรือ vCalendar specification)
nระบบนัดหมายส่วนบุคคลที่สมาชิกทุกคนใช้จะต้องสามารถเข้าถึงโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  
ระบบติดตามงานกลุ่ม
nระบบติดตามงานกลุ่ม  เป็นการนำระบบติดตามงานส่วนบุคคลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารระบบองค์การ  รวมทั้งการบริหารโครงการด้วย
nปัจจัยที่ทำให้การใช้งานของระบบติดตามงานกลุ่มจะประสบผลสำเร็จ คือ
n  บุคลากรทุกคนต้องใช้ระบบติดตามงานส่วนบุคคลในการบริหารงานและเวลาของตนเองและใช้ระบบเดียวกัน
n  ระบบติดตามงานส่วนบุคคล  สมาชิกทุกคนใช้จะต้องสามารถเข้าถึงโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  
ระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน
nเป็นระบบพื้นฐานหรือระบบที่ซับซ้อนน้อยที่สุด
n มีเพียงฟังก์ชันที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นของบุคคลที่ผู้ใช้ระบบเกี่ยวข้องหรือติดต่อสื่อสารด้วยทั้งในส่วนการงานและส่วนตัว  (business  and  personal  contacts) 
n เป็นระบบที่มีเพียงฐานข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการ หรือการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ระบบ





































































วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของ E-Commerce


ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) 
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย













องค์ประกอบของ E-Commerce



การเขียนแผนธุรกิจ     แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะช่วยชี้แนะขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง 

แผนธุรกิจที่ดีประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย 
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง 
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ 
4. นโยบายการตลาด 
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้ 
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป
แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้1.   การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง 
2.   ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่ 
3.   ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน 
4.   ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด 
5.   สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด้ 
6.   สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 
7.   วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่ 
8.   หน้าที่ต่าง ๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่
การจดโดเมน
    โดเมนเนม ก็คือ ชื่อของเว็บ (Web address) ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเข้ามาที่เว็บไซต์ของ google คุณกำลังเรียกดูข้อมูลที่ตั้งอยู่ที่ www.google.com. ซึ่ง 'google.com' คือ โดเมนเนม ่
    ดังนั้นการที่จะเลือกหรือตัดสินใจว่า ควรจะเป็นเจ้าของโดเมนเนมสักชื่อได้แล้วหรือยัง ควรจะพิจารณาจากเหตุผลหลักๆ ประมาณ 5 ข้อนี้
ข้อที่ 1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ…ให้กับเว็บ 
ข้อที่ 2. ง่ายแก่การจดจำและเข้าถึงเว็บ 
ข้อที่ 3. สร้างความมั่นใจให้กับบุคคลทั่วไป 
ข้อที่ 4. ป้องกันความผิดพลาดจากการส่งอีเมล์ 
ข้อที่ 5. เปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการเช่าพื้นที่ (Web Hosting) ได้ง่าย
    เมื่อนับข้อดีได้ 5 ข้อแล้ว ก็ตกลงใจมีโดเมนเนมเป็นของตัวเองได้แล้ว จ่ายแพงกว่านิดหน่อยก็คุ้มค่า แถมยังหมดห่วงกับปัญหาที่จะตามมาในภายหลังอีกด้วย
   ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการจดชื่อโดเมน


การจัดทำเว็บไซต์
     การออกแบบเว็บที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าเราต้องการขายอะไร ไม่จำเป็นต้องใช้กราฟฟิกที่เริดหรูเพียงแต่เน้นการเสนอคุณสมบัติของสินค้าของเรานั้นให้ตรงตามลักษณะของสินค้านั้น ๆ เช่น เรายังขายอัญมณีมุกน้ำเค็มสินค้าเดิม สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ รูปแบบแต่ละแบบที่เห็นและความเด่นชัดของสินค้า รูปภาพที่แสดงให้ลูกค้าดูนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง 
     สิ่งที่สำคัญในการโหลดข้อมูลไม่ควรจะช้ามากจนเกินไปเพราะจำทำให้ไม่ดึงดูดความสนใจได้ ควรออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นกันเองกับผู้เยี่ยมชมก็ควรมีสิ่งที่เกี่ยวกับสังคมอินเทอร์เน็ตบ้าง
เพื่อไม่เป็นการมุ่งแต่การขายอย่างเดียวการสร้าง Catalog ในการออกแบบสินค้าเพื่อให้ลูกค้า ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและ มีเงื่อนไขที่หลายรูปแบบ
การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
     การจัดทำเว็บไซต์ในรูปของธุรกิจ E-Commerce ผู้จัดทำต้องสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจให้เกิดขึ้น โดยมีหลักการดังต่อไปนี้
1. การจัดทำนโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
    นโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการทำธุรกรรมต่างๆของบุคคลเท่านั้น ไม่ได้เป็นนโยบายที่มุ่งคุ้มครองความเป็นส่วนตัวทุกอย่างในชีวิตประจำวัน  รายละเอียดเพิ่มเติม
2. เครื่องหมายแสดงความน่าเชื่อถือ (Trustmark)
   Trustmark คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่แสดงไว้เพื่อประกาศให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติหรือคุณลักษณะต่างๆตามมาตรฐานที่มีการกำหนดโดยองค์กรนั้นๆแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติม
สร้างเว็บไซต์อย่างไรให้น่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภค  รายละเอียดเพิ่มเติม
ระบบการชำระเงิน (Payment System) 
    ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า เพราะในบางครั้งลูกค้าต้องการสินค้าของเราแล้ว แต่ไม่สะดวกในเรื่องการชำระเงินก็ไม่ซื้อของจากเราก็ได้ ในการพิจารณาเรื่องวิธีการชำระเงินนั้นให้พิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร เช่นเป็นลูกค้าภายในประเทศ กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน หรือกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด วิธีที่สะดวกจะมีให้เลือกหลายวิธีทั้งธนาณัติ การโอนเงินทางธนาคาร โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
ขั้นตอนการชำระเครดิตการ์ดผ่านอินเทอร์เนต
     องค์ประกอบในการชำระเงิน 1.ลูกค้า(Customer) 2.ร้านค้า(Merchant) 3.ธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ (Acquiring Bank) 4.ธนาคารผู้ออกบัตร (Issuing Bank) 




เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลบัตรเครดิตและกดปุ่ม “ตกลง/ส่ง” ข้อมูลในส่วนของคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังร้านค้า(1) ส่วนข้อมูลของบัตรเครดิตจะถูกส่งไปที่ระบบการชำระเงินของธนาคารที่ร้านค้าสมัครใช้บริการไว้(2) และถูกส่งต่อไปยังธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรว่ามีวงเงินให้ใช้งานได้หรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง (3)[แต่ในที่นี้ไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ใช้บัตรนั้นเป็นเจ้าของจริงหรือเปล่า] ถ้าบัตรยังใช้งานได้ก็จะตอบกลับมายังร้านค้าและลูกค้าว่าสามารถทำการชำระเงินในวงเงินดังกล่าวได้
(4-6) หลังจากนั้นลูกค้าต้องกดปุ่มตกลงเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อและชำระเงิน เมื่อร้านค้าได้รับการแจ้งการชำระเงินก็จะจัดส่งสินค้าต่อไป(7) และลูกค้าก็ชำระเงินที่ใช้ไปตามรอบบัตรเครดิตปกติ
ความเชื่อมั่นในการชำระเงินในระบบดิจิทัล  
ระบบการจัดส่งสินค้า
     สินค้าจะมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้(Tangible Goods) และสินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible Goods) ดังนั้นการจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบคือ         สินค้าที่จับต้องได้ เช่นการส่งพัสดุตามปกติ ส่ง EMS ส่งผ่านผู้ให้บริการรับส่งสินค้า(Courier) เช่นเดียวกันต้องมีให้เลือกทั้งแบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้นการจัดส่งจะทำการส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เช่นดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce



E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน

โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น  
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business




ข้อดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
  • ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
  • การเปิดร้านค้าในอินเตอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน

ข้อเสีย
  • ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
  • สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
  • เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
  • ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
  • ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ